Untitled Document
หัวข้อ : 5555555

แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตของโรงเรียนบ้านน้ำโมง

        การทุจริต (corruption) เป็นการใช้อํานาจให้ได้มาหรือการใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ในทางมิชอบ  เพื่อประโยชน์

ต่อตนเองหรือพวกพ้อง  ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวม  การทุจริตในปัจจุบันเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ  อาทิ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน  การรับสินบนไม่ว่าจะเป็นของขวัญหรือผลประโยชน์อื่นใด  การปกปิด

ข้อเท็จจริง  การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม  เป็นต้น  ซึ่งการทุจริตในรูปแบบต่างๆ  เป็นปัญหาที่สะสมมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  โดยเจ้าพนักงานของรัฐมักจะใช้อํานาจหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้ต่อตนเองและผู้อื่น  ด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือรับสินบน  การกระทําดังกล่าวถือว่าเป็นการทุจริต

ต่อหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑

หากเกิดการทุจริตขึ้นในหน่วยงาน  จะทําให้การบริหารงานขาดประสิทธิภาพเกิดความไม่เป็นธรรมและส่งผล

กระทบต่อผลประโยชน์ของรัฐและผลประโยชน์สาธารณะ  รวมทั้งทําให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนขาดความไว้วางใจ  ขาดความเชื่อมั่นและศรัทธา  ในการใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐ  ท้ายที่สุดทําให้เกิดการร้องเรียนการทุจริตในหน่วยงานขึ้น

        โรงเรียนบ้านน้ำโมง  จึงได้ตระหนักถึงความโปร่งใส รวดเร็ว ตรวจสอบได้และเป็นธรรม  กรณีหากเกิด

การร้องเรียนขึ้น  ดังนั้นโรงเรียนบ้านน้ำโมง  จึงได้กําหนดมาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต  เพื่อให้เป็นไป ตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๔) และมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรมและความโปร่งใสในการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน ดังนี้

        ๑. การร้องเรียนการทุจริต ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจาก เจ้าหน้าที่กระทําดังต่อไปนี้

           ๑.๑ กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

           ๑.๒ กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น

           ๑.๓ กระทําความผิดอันเนื่องมาจากการประพฤติมิชอบ

        ๒. การยื่นเรื่องร้องเรียนการทุจริตจากช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

           ๒.๑ ร้องเรียนด้วยตนเอง ณ โรงเรียนบ้านน้ำโมง

           ๒.๒ ร้องเรียนทางโทรศัพท์ 089-570-6549

           ๒.๓ ร้องเรียนทาง Facebook

           ๒.๔ ร้องเรียนทาง Line

 

 

        ๓. พิจารณาคําร้องเรียนการทุจริต

           ๓.๑ เจ้าหน้าที่ต้องอ่านหนังสือร้องเรียนและตรวจสอบข้อมูลรวมทั้งเอกสารประกอบการ ร้องเรียนโดยละเอียด

           ๓.๒ สรุปประเด็นการร้องเรียนโดยย่อ เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาหากเรื่องร้องเรียน มีประเด็น เกี่ยวข้องกับกฎหมายให้ระบุตัวบทกฎหมายเสนอผู้บังคับบัญชาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

           ๓.๓ หนังสือที่ส่งถึงหน่วยงานหากมีความเห็นหรือข้อสังเกตเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ หรือการเอาใจใส่ของหน่วยงานก็ควรใส่ความเห็นหรือข้อสังเกตนั้นๆ

           ๓.๔ เรื่องร้องเรียนกล่าวโทษ ควรแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคุ้มครองความปลอดภัย ให้แก่ ผู้ร้องเรียนและพยานที่เกี่ยวข้องตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๑ และประทับตรา "ลับ" ในเอกสารทุกแผ่น

           ๓.๕ เรื่องร้องเรียนกล่าวโทษ แจ้งเบาะแสการกระทําความผิดหรือผู้มีอิทธิพล ซึ่งน่าจะเป็น อันตรายต่อ

ผู้ร้อง ควรปกปิดชื่อและที่อยู่ของผู้ร้องก่อนถ่ายสําเนาคําร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่หากเป็น การกล่าวหาในเรื่องที่เป็นภัยร้ายแรงและน่าจะเป็นอันตรายต่อผู้ร้องเป็นอย่างมากก็ไม่ควรส่งสําเนาคําร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ควรใช้วิธีคัดย่อคําร้องแล้วพิมพ์ขึ้นใหม่ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประทับตรา "ลับ" ในเอกสารทุกแผ่น

           ๓.๖ เมื่ออ่านคําร้องแล้วต้องประเมินด้วยว่าเรื่องน่าเชื่อถือเพียงใด หากผู้ร้องแจ้งหมายเลข โทรศัพท์มาด้วยควรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ร้อง โดยขอให้ยืนยันว่าผู้ร้องได้ร้องเรียนจริง เพราะบางครั้ง อาจมีการ

แอบอ้างชื่อผู้อื่นเป็นผู้ร้อง วิธีการสอบถามไม่ควรบอกเรื่องหรือประเด็นการร้องเรียนก่อนควรถามว่า ท่านได้

ส่งเรื่องร้องเรียนมาจริงหรือไม่ในลักษณะใด หากผู้ร้องปฏิเสธก็จะชี้แจงว่าโทรศัพท์มาเพื่อตรวจสอบ ข้อมูล

เบื้องต้นแล้วรีบจบการสนทนา

        ๔. มาตรฐานงาน

           ๔.๑ การดําเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด

           ๔.๒ กรณีได้รับเรื่องร้องเรียน ให้ดําเนินการตรวจสอบข้อร้องเรียนการทุจริตและดําเนินการ แก้ไข

ปัญหาข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จหรือรายงานความคืบหน้าให้ผู้ร้องเรียนทราบภายใน ๑๕ วัน/ต่อราย